คุณสมบัติของชุดเบสคาสติ้งโดยทั่วไปมีดังนี้
คันเบ็ด
- มีความยาวหลายขนาด มีความแข็งแรง และมีแอ๊คชั่นของคันเบ็ดให้เลือกตรงกับงานที่ต้องใช้
- มีไกด์แบบวงแหวนฐานเตี้ย ติดตั้งอยู่ด้านบนคันเบ็ด ซึ่งใช้วัสดุที่ต่างกันไปตามคุณภาพและระดับของคันเบ็ด
- ด้ามคันเบ็ดมีให้เลือกหลายแบบ ทั้งที่ใช้งานกับการตกปลาน้ำจืด และการตกปลาทะเล
- ด้ามจับคันเบ็ดส่วนมากจะเป็นไม้ก๊อก และมีแบบยางนีโอพรีนด้วย
- มีขนาดให้เลือกตามลักษณะของงาน และตามลักษณะของคันเบ็ด มีทั้งแบบที่ใช้ระบบจัดเรียงสายเบ็ดและแบบที่ไม่มีระบบดังกล่าว
- มีระบบเบรคแบบสตาร์แดรกเช่นเดียวกับรอกทรอลลิ่ง
- มีปุ่มปลดฟรีหลอดเก็บสายซึ่งเป็นจุดเด่นของรอกชนิดนี้ ทำให้สะดวกต่อการใช้งานเวลาปล่อยสายเบ็ด แม้ว่าชุดอุปกรณ์เบทคาสติ้ง
ขนาดใหญ่ ๆ จะบรรจุสายได้มากพอ ๆ กับรอกทรอลลิ่งขนาดเล็ก มีระบบเบรคที่แข็งแรงกว่า การปล่อยสายเบ็ดและม้วนเก็บสายเบ็ดกลับ มาจะสะดวกกว่าชุดสปินนิ่ง แต่ถึงกระนั้นก็ตามการเลือกชุดอุปกรณ์แบบเบทคาสติ้งก็ยังจำกัดอยู่กับขนาดของสายเบ็ดทั่วไปไปที่ใช้อยู่ 2 ระดับด้วยกัน คือ ขนาดของสายเบ็ดที่ไม่เกิน 20 ปอนด์
คันเบ็ด ความยาว 6-7 ฟุต แบบท่อนเดียวจะได้เปรียบกว่าแบบ 2 ท่อน แอ๊คชั่นระดับปานกลางถึงระดับแข็ง ด้ามยาวพอจะปักลงในกระบอกพักคันเบ็ดได้ ปลายด้ามเบ็ดควรเลือกแบบมีแฉก ชนิดพลาสติก เพื่อล๊อคคันเบ็ดให้อยู่ตำแหน่งเดียวเสมอไป
รอก ขนาดที่บรรจุได้ไม้น้อยกว่า 200 เมตร ควรเลือกรอกที่ใช้ระบบตลับลูกปืน และมีควรมีตัวจัดเรียงสายเบ็ด อุปกรณ์ชุดนี้ได้ใช้กับปลาล่าเหยื่อผิวน้ำขนาดเล็กถึงปานกลาง เช่นปลาสีขนเกาะ ปลาโอ ปลาหางแข็ง หรือปลาล่าเหยื่อผิวน้ำอื่น ๆที่มี น้ำหนัก ไม่เกิน 3 กิโลกรัมขนาดของสายเบ็ดเกินกว่า 20 ปอนด์
- คันเบ็ด เลือกตามข้อมูลในข้อ 1 โดยใช้สายเบ็ดไม่เกิน 30 ปอนด์
- รอก บรรจุสายเบ็ดขนาด 3 ปอนด์ ได้อย่างน้อย 250 และมีข้อมูลแบบข้อ 1
สรุปแล้ว การเลือกใช้ชุดเบทคาสติ้งกับงานลากเหยื่อตกปลาทางทะเลนั้นส่วนมากจะเกิดจากการที่นักตกปลาน้ำจืดใช้ชุดเบทคาสติ้ง อยู่แล้ว เพียงแต่นำมาปรับใช้กับงานตกปลาทะเลได้ดีพอสมควรและยังใช้กับงานตกปลาวิธีอื่นได้อีกด้วย
No comments:
Post a Comment